ข่าวทั่วไป

เบียด 90 ประเทศ คว้าอับดับ 1 ของโลก นักเรียนไทยสร้างชื่อ ภาพวาดสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

เบียด 90 ประเทศ คว้าอับดับ 1 ของโลก นักเรียนไทยสร้างชื่อ ภาพวาดสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

เบียด 90 ประเทศ คว้าอับดับ 1 ของโลก นักเรียนไทยสร้างชื่อ ภาพวาดสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

วันที่ 13 ก.พ.67 ผู้สื่อข่าวรยางานว่า นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนศรียาภัย อ.เมืองชุมพร โชว์ผลงานภาพวาดพะยูนคว้ารางวัลอันดับที่ 1 อันดับที่ 3 ภาพวาดนกชนหิน และรางวัลเชิดชูเกียรติอีก 3 รางวัล รุ่นอายุ 13-16 ปี ในรายการ sketch for survival junior 2023 แข่งขัน ณ กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ โดยองค์กร explorers against extinction. Sketch for Survival Junior ช่วยสร้างความตระหนักรู้ที่สำคัญ เกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การแข่งขันจัดแสดงผลงานศิลปะหลากหลายสไตล์ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดปี 2023 จากกว่า 90 ประเทศจำนวนไม่ต่ำกว่า 4,000 ภาพ

นายประสิทธิ์ เพ็ชรจร และ น.ส.เพ็ญประภา ดับโศรก ครูสอนวิชาทัศนศิลป์ โรงเรียนศรียาภัย กล่าวว่า ในมุมมองของตนมองว่าภาพวาด “พะยูน” ถึงได้รับรางวัลอันดับที่ 1 พิจารณาด้วยเหตุผลว่า พะยูนสามารถตอบโจทย์ภาวะโลกร้อนค่อนข้างชัด เนื่องจากเมื่อเกิดโลกร้อนจัดอาหารทะเลหดหายก็คือหญ้าทะเล ประกอบกับภาพที่สื่อของไปด้วยภาพพะยูนที่เป็นครอบครัวสัตว์พ่อแม่ลูกออกหากินสู่การอพยพย้ายถิ่น อาจจะสะท้อนใจกรรมการผู้ตัดสิน จึงได้ตัดสินให้ได้เป็นที่ 1

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%943

น.ส.เพ็ญประภา กล่าวว่า ส่วนภาพ “นกชนกิน” ได้รับรางวัลที่ 3 เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ กรรมการเห็นว่าอาจจะเป็นสัตว์แปลกใหม่ ซึ่งแม้กระทั่งคนไทยเองก็ยังไม่ค่อยได้เห็นสัตว์ประเภทนี้ “นกชนหิน” อยู่ในตระกูลนกเงือก นกชนิดนี้มีกะโหลกที่แข็งมาก รุ่นคุณปู่คุณย่า อาจจะรู้จักแต่ปัจจุบันแทบใกล้สูญพันธุ์ “นกชนหินเป็นนกมีพื้นถิ่นกำเนิด ไทย สิงค์โป อินโดนีเซีย มาเลเซีย พอไปนำเสนอที่ยุโรปอาจแปลกตาสำหรับผู้ตัดสิน

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%944

นายประสิทธิ์ กล่าวเสริมว่า โครงการนี้เป็นโครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ เป็นองค์กรใหญ่กระตุ้นเด็กเยาวชนและการสร้างจิตสำนึกให้เพื่อนร่วมโลกเห็นว่าสัตว์บางชนิดใกล้สูญพันธุ์แล้วจึงมีการประกวดกิจกรรมมากมาย แต่หนึ่งในโครงการนั้นมีประกวดภาพวาดของเด็กเยาวชนทั่วโลก โดยให้เยาวชนมีใจรักในด้านศิลปะวาดภาพส่งงานเข้าประกวด

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%945

สำหรับวิธีการคือให้เด็กทั่วโลกส่งผลงานภาพทางออนไลน์ไปก่อนตั้งแต่เมื่อเดือน พฤษภาคม 2566 ผลการตัดสินประกาศเมื่อกลางเดือน ธันวาคม 2566 ในกรณีที่เข้ารอบ 1 ใน 100 ทางผู้จัดประกวดจะให้จัดส่งภาพตัวจริงไปดูด้วย หลังจากนั้นก็จะถูกพิจารณาเป็นรอบๆ คือผ่านจาก 100 ชิ้น มาคัดเลือกให้เหลือ 60 ชิ้นผลงานและ 40 ตามลำดับจนผลงานที่นักเรียนโรงเรียนศรียาภัยส่งเข้าประกวดผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลที่ 1 และรางวัลที่ 3 พร้อมทั้งคว้ารางวัลเชิดชูเกียรติอีก 2 รางวัล ส่วนโรงเรียนอนุบาลชุมพรได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ 1 รางวัล

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%946

และสำหรับเจ้าของผลงานที่สร้างชื่อเสียงดังกระฉ่อนระดับโลกและสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ครอบครัวเด็กนักเรียนและจังหวัดบ้านเกิดคือ 1.นายชนม์ชนันทร์ ส่งตระกูล หรืออันดา อายุ 17 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรียาภัย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าของภาพวาด “พะยูน” 2.ด.ญ.เขมิกา นาคะวัจนะ หรือน้องดีฟส์ อายุ 14 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรียาภัย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เจ้าของภาพวาด “นกชนหิน”

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%947

อีกทั้งสามารถคว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย 1.น.ส.ศิวกร ดำจีน อายุ 17 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรียาภัย เจ้าของภาพวาด “เต่ามะเฟือง” 2.น.ส.กุลณัฐธิดา อ่อนวอน อายุ 16 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรียาภัย เจ้าของภาพวาด “ตัวนิ่ม” และ 3.ด.ช.ณฐ ถึงเสียบญวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลชุมพร เจ้าของภาพวาด “ช้าง”

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%948

ครูสอนวิชาทัศนศิลป์ กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดีสร้างจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจธรรมชาติ การวาดภาพ 1 ภาพใช่ว่าจะลงมือวาดได้เลย เด็กต้องหาข้อมูลว่าสัตว์ชนิดไหนใกล้สูญพันธุ์บ้างและต้องข้อข้อมูลสัตว์แต่ละชนิดจึงนำมาจัดองค์ประกอบเพื่อวาดภาพ

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%949

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%9410

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%9411

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *