ผู้รู้ตอบให้แล้ว “กินน้ำขวดไม่หมด” จะมีเชื้อแบคทีเรียอันตราย จริงหรือไม่

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อ.เจษฎ์ ไขข้อข้องใจ กินน้ำขวดไม่หมด จะมีเชื้อแบคทีเรียอันตรายเกิดขึ้น จริงหรือ?

กินน้ำขวดไม่หมด จะมีเชื้อแบคทีเรียอันตรายเกิดขึ้น จริงหรือ?” เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น “อาจารย์เจษฎ์” รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาไขข้อข้องใจ โดยระบุว่า

มีการแชร์คลิปวิดีโอที่เตือนเกี่ยวกับ “น้ำบรรจุขวด” ที่กินไม่หมด แล้วทิ้งไว้ในรถ พอเอาไปส่องกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต ที่อันตรายต่อสุขภาพ พร้อมกับแคปชั่นว่า “น่ากลัวมาก ตั้งใจฟังให้ดี ระวังตัวเราเองให้มากที่สุด และ…..แชร์ออกไปให้ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ รวมถึงคนที่เรารู้จัก ทั่วๆไป ด่วนเลย” !?

ซึ่งไม่จริงนะครับ ! ถ้าเป็นน้ำดื่มบรรจุขวดที่ปิดสนิท และเราพึ่งดื่มเป็นคนแรก เชื้อแบคทีเรียที่เจริญในขวดน้ำหลังจากดื่มนั้น ก็มาจากปากของเราเองนั่นแหละครับ ซึ่งไม่ได้อันตราย แต่อาจจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้นบ้าง (คล้ายดมกลิ่นปากเราเองนั่นแหละ)

Dr. Kellogg Schwab ผู้อำนวยการของสถาบันน้ำ (Water Institute) ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า

ทันทีที่เราจิบน้ำ ริมฝีปากของเราก็พาเอาเชื้อจุลินทรีย์ลงไปในน้ำ และเมื่อทิ้งไว้ที่บ้านหรือที่ทำงาน อุณหภูมิของห้องและแสงที่เข้ามาจากหน้าต่าง ก็ช่วยให้เชื้อนั้นเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

ซึ่งถ้าน้ำในขวดนั้นเป็นน้ำสะอาดตั้งแต่แรก น้ำดื่มนี้ก็จะปลอดภัยบริโภคได้สบายไปอีก 1-2 วัน

แล้วที่เรารู้สึกว่าได้กลิ่นหรือรสแปลกๆ หลังจากทิ้งแก้วใส่น้ำไว้ข้ามคืน มันเกิดจากอะไร ? นั่นก็เพราะว่าหลังจากทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจะเข้าไปสัมผัสกับน้ำได้มากขึ้น และค่อย ๆ ลดค่าพีเอช (กรดด่าง) ของน้ำให้เป็นกรดมากขึ้น แม้ว่ายังปลอดภัยต่อการดื่มอยู่ก็ตาม

และถ้าเอาแก้วเก่า ที่ไม่ได้ล้างให้สะอาด เติมน้ำดื่มกินซ้ำทุกวันๆ อย่างนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการที่เราจะได้รีบเชื้อแบคทีเรียที่อันตรายได้ … โดยเฉพาะถ้ามีการใช้แก้วหรือขวดน้ำนั้นร่วมกันกับคนอื่น

หรือถ้าเราไปจับโดนปากขวดหรือขอบแก้ว ด้วยนิ้วมือที่สกปรก โดยเฉพาะมือของคนที่เข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคที่อันตราย ที่ทำให้ป่วยได้ ปนเปื้อนมาด้วย และลงไปในน้ำได้

ที่นี้ถ้าไม่ใช่แค่เก็บน้ำไว้แค่วันสองวัน แต่เก็บไว้นานๆ เป็นเดือนล่ะ ? คุณ Zane Satterfield นักวิทยาศาสตร์วิศวกร จากศูนย์ National Environmental Services Center ที่มหาวิทยาลัย West Virginia University ได้แนะนำไว้ว่า น้ำที่เก็บไว้นานมากๆ ก็อาจจะไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคได้

ตัวอย่างเช่น ถ้าเก็บสต็อกน้ำบรรจุขวดเอาไว้ใช้เวลาเกิดภัยพิบัติ ก็จะเก็บไว้ได้ประมาณ 1 ปี หรือ 12 เดือน แล้วหลังจากนั้น เราควรจะเปลี่ยนสต็อกน้ำเป็นชุดใหม่ .. จะสังเกตเห็นว่า ถึงตอนนั้นจะเห็นว่าน้ำในขวดพร่องไปจากการระเหย ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ขวดน้ำนั้น ไม่ใช่ว่าจะป้องกันการเข้าออกของสารได้ตลอดไป

หรือถ้าเกิดวิกฤตจริงๆ และจำเป็นต้องเอาขวดน้ำเก่าเก็บนานๆ มาใช้ ก็แนะนำให้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำเสียก่อน โดยหยด “น้ำยาฟอกผ้าขาว ที่ไม่มีกลิ่นฉุน” ลงไปเล็กน้อย (ประมาณ 4 หยดต่อน้ำ 1 แกลลอน) แล้วทิ้งไว้ 30 นาที … ก็พอจะเอาชีวิตรอดในโลกที่โดนซอมบี้บุกได้ ฮะๆๆ

 

 

 

 

ตอบชัดแล้ว “กินน้ำขวดไม่หมด” ทิ้งไว้จะเกิดเชื้ออันตราย จริงหรือไม่

“อ.เจษฎ์” รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เปิดข้อมูลในหัวข้อ “กินน้ำขวดไม่หมด จะมีเชื้อแบคทีเรียอันตรายเกิดขึ้น จริงหรือ?”

อ.เจษฎ์” รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กินน้ำขวดไม่หมด จะมีเชื้อแบคทีเรียอันตรายเกิดขึ้น จริงหรือ?”

มีการแชร์คลิปวิดีโอที่เตือนเกี่ยวกับ “น้ำบรรจุขวด” ที่กินไม่หมด แล้วทิ้งไว้ในรถ พอเอาไปส่องกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต ที่อันตรายต่อสุขภาพ พร้อมกับแคปชั่นว่า “น่ากลัวมาก ตั้งใจฟังให้ดี ระวังตัวเราเองให้มากที่สุด และ…..แชร์ออกไปให้ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ รวมถึงคนที่เรารู้จัก ทั่วๆไป ด่วนเลย” !?

ซึ่งไม่จริงนะครับ ! ถ้าเป็นน้ำดื่มบรรจุขวดที่ปิดสนิท และเราพึ่งดื่มเป็นคนแรก เชื้อแบคทีเรียที่เจริญในขวดน้ำหลังจากดื่มนั้น ก็มาจากปากของเราเองนั่นแหละครับ ซึ่งไม่ได้อันตราย แต่อาจจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้นบ้าง (คล้ายดมกลิ่นปากเราเองนั่นแหละ)

Dr. Kellogg Schwab ผู้อำนวยการของสถาบันน้ำ (Water Institute) ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า

ทันทีที่เราจิบน้ำ ริมฝีปากของเราก็พาเอาเชื้อจุลินทรีย์ลงไปในน้ำ และเมื่อทิ้งไว้ที่บ้านหรือที่ทำงาน อุณหภูมิของห้องและแสงที่เข้ามาจากหน้าต่าง ก็ช่วยให้เชื้อนั้นเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

ซึ่งถ้าน้ำในขวดนั้นเป็นน้ำสะอาดตั้งแต่แรก น้ำดื่มนี้ก็จะปลอดภัยบริโภคได้สบายไปอีก 1-2 วัน

แล้วที่เรารู้สึกว่าได้กลิ่นหรือรสแปลกๆ หลังจากทิ้งแก้วใส่น้ำไว้ข้ามคืน มันเกิดจากอะไร ? นั่นก็เพราะว่าหลังจากทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจะเข้าไปสัมผัสกับน้ำได้มากขึ้น และค่อย ๆ ลดค่าพีเอช (กรดด่าง) ของน้ำให้เป็นกรดมากขึ้น แม้ว่ายังปลอดภัยต่อการดื่มอยู่ก็ตาม

และถ้าเอาแก้วเก่า ที่ไม่ได้ล้างให้สะอาด เติมน้ำดื่มกินซ้ำทุกวันๆ อย่างนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการที่เราจะได้รีบเชื้อแบคทีเรียที่อันตรายได้ … โดยเฉพาะถ้ามีการใช้แก้วหรือขวดน้ำนั้นร่วมกันกับคนอื่น

หรือถ้าเราไปจับโดนปากขวดหรือขอบแก้ว ด้วยนิ้วมือที่สกปรก โดยเฉพาะมือของคนที่เข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคที่อันตราย ที่ทำให้ป่วยได้ ปนเปื้อนมาด้วย และลงไปในน้ำได้

ที่นี้ถ้าไม่ใช่แค่เก็บน้ำไว้แค่วันสองวัน แต่เก็บไว้นานๆ เป็นเดือนล่ะ ? คุณ Zane Satterfield นักวิทยาศาสตร์วิศวกร จากศูนย์ National Environmental Services Center ที่มหาวิทยาลัย West Virginia University ได้แนะนำไว้ว่า น้ำที่เก็บไว้นานมากๆ ก็อาจจะไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคได้

ตัวอย่างเช่น ถ้าเก็บสต็อกน้ำบรรจุขวดเอาไว้ใช้เวลาเกิดภัยพิบัติ ก็จะเก็บไว้ได้ประมาณ 1 ปี หรือ 12 เดือน แล้วหลังจากนั้น เราควรจะเปลี่ยนสต็อกน้ำเป็นชุดใหม่ .. จะสังเกตเห็นว่า ถึงตอนนั้นจะเห็นว่าน้ำในขวดพร่องไปจากการระเหย ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ขวดน้ำนั้น ไม่ใช่ว่าจะป้องกันการเข้าออกของสารได้ตลอดไป

หรือถ้าเกิดวิกฤตจริงๆ และจำเป็นต้องเอาขวดน้ำเก่าเก็บนานๆ มาใช้ ก็แนะนำให้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำเสียก่อน โดยหยด “น้ำยาฟอกผ้าขาว ที่ไม่มีกลิ่นฉุน” ลงไปเล็กน้อย (ประมาณ 4 หยดต่อน้ำ 1 แกลลอน) แล้วทิ้งไว้ 30 นาที … ก็พอจะเอาชีวิตรอดในโลกที่โดนซอมบี้บุกได้ ฮะๆๆ

admin

Recent Posts

เปิดลงทะเบียน สินเชื่อออมสิน วงเงิน 50,000 บาท ไม่ต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ทุกอาชีพ

เปิดลงทะเบียน สินเชื่อออมสิน วงเงิน 50,000 บาท ไม่ต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ทุกอาชีพ   ธนาคารออมสิน ได้ออกสินเชื่อไทรทองอเนกประสงค์ ปล่อยกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องใน สถานการณ์ปัจจุบัน โดยผ่อนปรนให้…

5 days ago

เปิดยืมผ่านแอป MyMo สินเชื่อ อิ่มใจ ออมสินช่วยเหลือ รายละ 1 เเสน

เปิดยืมผ่านแอป MyMo สินเชื่อ อิ่มใจ ออมสินช่วยเหลือ รายละ 1 เเสน   ธนาคารออมสิน ได้มีการออกมาตรการ ในการช่วยธุรกิจร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ปล่อยสินเชื่อเงินให้กู้ยืม สินเชื่ออิ่มใจ…

5 days ago

แค่มีสมุดฝากธ.กรุงเทพ ให้ยืม 50,000 บาท ไม่ต้องค้ำ จาก “ธนาคารกรุงเทพ”

แค่มีสมุดฝากธ.กรุงเทพ ให้ยืม 50,000 บาท ไม่ต้องค้ำ จาก “ธนาคารกรุงเทพ”   ธนาคารกรุงเทพ เปิดให้กู้ สินเชื่อบัวหลวงสุขใจ เพื่อให้ประชาชนที่ต้องการปรับสภาพการเงินให้คล่องตัว กับเงินกู้อเนกประสงค์ สำหรับพนักงานประจำ ที่มีบัญชีเงินเดือนกับธนาคารกรุงเทพ…

5 days ago

ฮงลิสซิ่ง วงเงิน 20,000 บาท ผ่อนเริ่มต้น 238 บาท/เดือน อนุมัติง่าย ทุกอาชีพ

ฮงลิสซิ่ง วงเงิน 20,000 บาท ผ่อนเริ่มต้น 238 บาท/เดือน อนุมัติง่าย ทุกอาชีพ   สินเชื่อส่วนบุคคล เฮงลิสซิ่ง เป็นตัวช่วยแก้ทุกปัญหา ด้านการเงิน เติมเต็มทุกความต้องการ…

5 days ago

ธนาคารกรุงไทย ช่วยคนไม่มีเงิน 50,000 บาท ให้ผ่านง่าย ผ่อนหลักร้อย นาน 84 เดือน

ธนาคารกรุงไทย ช่วยคนไม่มีเงิน 50,000 บาท ให้ผ่านง่าย ผ่อนหลักร้อย นาน 84 เดือน   “กรุงไทยใจดี” เเละ “กรุงไทยสมาร์ทมันนี่” สำหรับพนักงานเอกชน รายละเอียดการสมัคร…

5 days ago

เริ่มแล้ว! ‘ออมสิน’ เปิดให้ลงทะเบียน วงเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านแอป ‘MyMo’

เริ่มแล้ว! ‘ออมสิน’ เปิดให้ลงทะเบียน วงเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านแอป ‘MyMo’   ธนาคาร “ออมสิน” เริ่มเปิดให้ “ลงทะเบียนขอสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19” ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน…

5 days ago