เทคนิค ผสมดินปลูกแก้ปัญหาต้นเหลือง แคระแกร็น ต้นไม่โต

สวัสดีครับทุกๆท่าน หลายๆคนเคยเป็นไหมครับ ปลูกต้นไม้แล้ว เฉา หรือ ต้นแคระแกร็น ต้นไม้โต จริงๆแล้วอาจจะเกิดปัญญาที่ดิน ที่เราใช้ปลูกก็ได้ครับ วันนี้เราจำนำวิธีแก้ปัญหาดินจากท่านอาจารย์มาฝากครับ

เมื่อเราเอาใบไม้เยอะ ๆ ฟางเยอะ ๆ หญ้าแยะ ๆ ฝังในดินแล้วปลูกพืช เศษพืชพวกนี้จะเกิดการย่อยสลายในดินในสภาพขาดอากาศ เป็นการเน่า ที่ปล่อยกรดอินทรีย์ออกมา ปล่อยแก๊สไข่เน่าและมีเทนออกมา พวกนี้เป็นพิษต่อพืชครับ พืชจะเหลือง และ เฉาครับ ชาวบ้านจะเรียกว่าต้นไม้เมาฟาง เมาใบไม้

ถ้าใส่น้อยลง แต่ยังมากอยู่ การย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ดินจะไปแย่งไนโตรเจนจากพืช พืชก็จะเหลืองแกร็น ไม่โต ได้อีกครับ

ถ้าใส่ไม่มาก ก็จะเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย พืชจะทนได้ เศษพืชพวกนี้จะกลายเป็นอินทรียวัตถุอาหารของจุลินทรีย์ดินและสิ่งมีชีวิตในดินในระยะยาว ช่วยปรับสภาพให้ดินโปร่ง ซุย

การไถกลบปุ๋ยพืชสดอย่างปอเทืองหรือซากถั่ว พืชจะไม่เกิดอาการเมาใบไม้ครับ เพราะในซากของพวกนี้จะอุดมไปด้วยไนโตรเจน จึงไม่เกิดการแย่งไนโตรเจนจากพืชครับ

ดินปลูกที่ขายกันทั่วไป ที่ซื้อมาแล้วพืชมักเฉา อาจเกิดจากการใส่ใบก้ามปูตามความนิยม แต่มีสัดส่วนดินน้อย ๆ ก็เพราะสาเหตุนี้ก็เป็นได้ครับ

ในถุงดินปลูกก็ยังใส่ขุยมะพร้าว ที่ทำให้ดินแฉะ เกิด โ ร ค ร า ก เน่าได้ง่าย พืชบางชนิดทนได้ แต่พืชบางชนิดไม่ทน บ่นแต่ว่า ริวจะไม่ทน ๆ ๆ

น้ำสีแดง ๆ จากขุยมะพร้าวมีสารแทนนิน ที่เป็น พิ ษ ต่ อ พืชบางชนิดด้วยครับ แล้วดินถุงก็นิยมใส่แกลบดำลงไปด้วย ใส่ลงไปทำไมก็ไม่รู้ คงจะทำให้ดินดูมีสีดำ ๆ คล้ายฮิวมัสมั้ง ฮา และแน่นอนว่าอาจมีการใส่ปุ๋ยเคมีหรือมูลสัตว์ลงไปในดินถึงด้วย เพื่อช่วยให้ต้นไม้เติบโตดี

ถ้าซื้อดินถุงมาใช้ แล้วอยากแก้ปัญหาพืชเหลืองไม่โต ก็ลองร่อนเอาใบไม้และขุยมะพร้าวออก แล้วปลูกพืชไปก่อน พอพืชเริ่มโตก็ค่อยเพิ่มปุ๋ยหมัก อจล ครับ

ดินปลูกสูตรจารย์ลุงที่สมาชิกเอาไปทำขาย แข่งกับดินถุงทั่วไป คือ ดินทั่วไป 4 ปุ๋ยหมัก 1 แกลบดิบหรือเปลือกถั่วลิสง 1 ปริมาณแกลบขนาดนี้ถือว่าน้อย ไม่ทันก่อผลเสียต่อพืชครับ แถมยังมีไนโตรเจนในปุ๋ยหมักด้วย ก็จะไม่เกิดการแย่งไนโตรเจนกันครับ

ทำดินปลูกใช้เองที่บ้าน ก็อาจใช้ดินลูกรัง ดินถมที่ ดินเหนียวได้เลยครับ ถ้าเป็นดินเหนียวก็เพิ่มทราบหยาบลงไปด้วย มันจะค่อย ๆ ดีขึ้นทีละน้อย ๆ ครับ ก็ขนาดทรายหยาบ 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก อจล 1 ส่วน พอผักใบโตก็เพิ่มปุ๋ยหมักต้นละ 1 กำมือคว่ำ ทุก 7-10 วัน ก็ยังปลูกผักอินทรีย์ในกระถางได้เลยครับ

นึกถึงใครที่ชอบขุดหลุมปลูกไม้ยืนต้น แล้วรองก้นหลุมด้วยใบไม้หนา ๆ ก็คงพอจะเดาได้นะครับว่าต้นไม้แสนรักจะแกร็นขนาดไหน

การนำเศษพืชกับมูลสัตว์มาทำปุ๋ยหมัก อจล พอปุ๋ยหมักแห้งแล้วค่อยนำไปใส่พืช ก็จะลดปัญหาพืชเมาใบไม้ได้ครับ

การทำปุ๋ยหมักที่ใส่เศษพืชมาก ๆ แต่มีมูลสัตว์น้อย ๆ ในสัดส่วนทำปุ๋ยหมัก ก็คงไม่ต่างจากการเอาเศษพืชล้วนไปใส่ต้นไม้เท่าไรนะครับ เช่นเดียวกันครับ การทำปุ๋ยหมักที่ใส่เศษพืชน้อย ๆ มูลสัตว์เยอะ ๆ ในกองปุ๋ย ก็คงไม่ต่างจากการนำมูลสัตว์ล้วนไปใส่ต้นไม้โดยตรงสักเท่าไรนะครับ

อดที่จะได้ธาตุโบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส นิกเกิ้ล แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ จากที่มีในเศษพืชเลยครับ ของดีส่วนใหญ่มีในเศษพืชมากกว่าในมูลสัตว์ครับ

ขอบคุณข้อมูล : Teerapong Sawang
ขอขอบคุณกลุ่ม : แลกเปลี่ยนความรู้ การทำปุ๋ยหมักวิศวกรรมแม่โจ้