อย่างที่รู้กันว่า การเสียภาษีรถยนต์เป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ใช้รถทุกคน ทั้งในปัจจุบันยังสามารถทำได้ง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว เพราะกรมการขนส่งทางบกเปิดให้ประชาชนต่อภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาขับรถไปชำระผ่านช่องทางออฟไลน์ให้ยุ่งยาก
ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ได้
1.รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล
2.รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี
3.รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี
4.รถที่ค้างจ่ายภาษีรถยนต่ไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน
เอกสาร การต่อทะเบียนรถยนต์ ออนไลน์
1.พ.ร.บ. รถยนต์
2.สำเนาทะเบียนรถ (ถ้ารถติดไฟแนนซ์ ให้ใช้สำเนา- ทะเบียนรถที่ทางสถาบันการเงินส่งมาให้)
3.หากรถติดแก๊สต้องใช้เอกสารรับรองการติดแก๊ส – พร้อมกับแนบใบตรวจสภาพจากวิศวกร
เงื่อนไขที่ ชำระภาษีผ่านทางออนไลน์ ได้
1.เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
2.รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ ต้องจดทะเบียนมาไม่เกิน 7 ปี
3.รถจักรยานยนต์ ต้องจดทะเบียนมาไม่เกิน 5 ปี
4.รถต้องค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี
5.ชำระได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน ก่อนป้ายแสดงการต่อภาษีฉบับเก่าหมดอายุ
วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์
ต่อภาษีรถออนไลน์ได้เลยที่ >> https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf
1.เข้าเว็บไซต์ กรมขนส่งทางบก E-service กดเข้าสู่ระบบ แล้วไปที่ ชำระภาษีรถประจำปีผ่านเน็ต
(ถ้าใครยังไม่มี ID ให้สมัครสมาชิกใหม่ กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย)

2.หากลงทะเบียนแล้ว ให้กรอก “เลขประจำตัว 13 หลัก/เลขนิติบุคคล” และ “รหัสผ่าน” เข้าสู่เว็บไซต์เพื่อดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ลงทะเบียน ให้คลิกไปที่ “ลงทะเบียน”

3.ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวที่จำเป็นลงไป อาทิ เลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-สกุล, วันเดือนปีเกิด, รหัสผ่าน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ ตามรูป

4.เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้กลับไปที่หน้าหลัก และกรอก “เลขประจำตัว 13 หลัก/เลขนิติบุคคล” และ “รหัสผ่าน” เพื่อเข้าสู่ระบบ

5.หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว คลิกไปที่ “ชำระภาษีรถประจำปี” เลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

6.กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ และหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน)




7.เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกยืนยัน และเลือกวิธีชำระเงิน
โดยทุกรายการจะมีค่าบริการจัดส่งเอกสาร รายการละ 40 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน โดยสามารถจ่ายโดย หักผ่านบัญชีธนาคาร, ชำระผ่านบัตรเครดิต หรือ ชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ เมื่อเลือกเรียบร้อยแล้ว กด “ตกลง”
หักผ่านบัญชีธนาคาร
(ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านออนไลน์แบงค์กิ้ง กับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ)
ชำระผ่านบัตรเครดิต
(บัตรเครดิต/เดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA และ MasterCard คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 รวม Vat 7% ของค่าธรรมเนียม)
ชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ
(จะมีใบแจ้งชำระภาษีให้พิมพ์ และนำไปจ่ายกับธนาคารหรือหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ)

8.ระบบจะแสดงรายละเอียดขึ้นมา ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง ถ้าข้อมูลถูกต้อง กด “ยืนยัน”
หากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ขนส่งจะส่งป้ายวงกลม (ป้ายแสดงการชำระภาษีประจำปี) พร้อมใบเสร็จมาให้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ ภายในเวลาไม่เกิน 7 วัน
เรียกได้ว่าสะดวกสบายมากเลยทีเดียว หากใครไม่ว่างก็สามารถทำออนไลน์ได้แล้ว ลองอ่านรายละเอียดข้างบนแล้วลองทำตามดูนะคะ ขั้นตอนไม่ยากเลยง่ายมาก เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถทำได้แล้ว
ขอบคุณข้อมูล : SALE HERE
ขอบคุณข้อมูล : khaorot.com